ขอโทษประเทศไทย

จำนวนผู้เข้าชม

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาโปรแกรม

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถทำงาน ได้ตามชุดคำสั่ง ในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งที่ละคำสั่ง โดยคำสั่งที่ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ จะต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาเครื่อง ถ้าเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องก็ต้องมีตัวแปลมาช่วยแปลคำสั่งเหล่านั้นให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งตัวที่มาช่วยแปลนี้เรียกว่า ตัวแปลภาษา เช่น Compiler หรือ Interpreter
ในการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมนั้น โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้เขียนโปรแกรม ต้องมี การเตรียมงาน เกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอน เรียกขั้นตอนเหล่านี้ว่า วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้
ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)
ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorythm Design)
ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)
ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)
ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)

ภาพที่ 2.1 วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC)
วิธีการทางคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนในการจัดทำโปรแกรม ที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรม ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามความมุ่งหมาย เพราะแต่ละขั้นตอนจะช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ การเรียบเรียงแนวคิดมีความชัดเจน ไม่สับสน และเกิดความง่ายต่อการเขียนและพัฒนาโปรแกรม แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการสมัยใหม่เกิดขึ้น เช่นแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แต่วิธีการทางคอมพิวเตอร์ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และน่ากระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เริ่มต้นใหม่กับงานเขียนโปรแกรม เพราะช่วยให้แนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม เป็นระเบียบไม่สับสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น