ขอโทษประเทศไทย

จำนวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

หลุมดำ(black hole)


หลุมดำ(black hole)

ท่านผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า ” หลุมดำ ” แต่บางท่านอาจจะยังไม่รู้ความหมายของหลุมดำ ก่อนที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงความหมายของ ” หลุมดำ ” ผู้เขียนขอถามท่านผู้อ่านว่า ท่านรู้จักกล่องดำที่อยู่ในเครื่องบินทุกลำหรือไม่ ถ้าท่านรู้จักดี ท่านก็จะทราบว่ากล่องดำนั้นมีสีส้ม นอกจากนี้ถ้าท่านเคยใช้ซีอิ๊วขาวในการปรุงอาหาร ท่านก็จะทราบว่าซีอิ๊วขาวนั้นสีดำ และถ้าท่านรู้จักนักมวย ชื่อขาวผ่อง ท่านก็จะทราบว่าขาวผ่องเป็นนักมวยผิวดำ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพื่อจะชี้ให้ท่านได้ทราบว่า ชื่อหลายชื่อไม่ได้สื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา ” หลุมดำ ” ก็เช่นเดียวกัน หลุมดำไม่ได้หมายถึงหลุมที่ดำๆ เพราะฉะนั้นถ้าท่านไปเจอหลุมดำๆที่ไหน ผู้เขียนรับรองเลยว่านั่นไม่ใช่หลุมดำ(black hole) หลุมดำเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง(เพราะว่าไม่มีแสงสว่างในตัวเอง) ที่แตกต่างจากดาวเคราะห์ทั่วไปคือ หลุมดำเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมายมายมหาศาล มีมวลมากกว่าดาวทุกดวงที่ท่านเคยรู้จัก และการที่หลุมดำมีมวลมากมายมหาศาลนี้ทำให้มันมีแรงดึงดูดที่มากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน ดูดได้แม้กระทั่งแสงสว่างและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิด ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่สามารถศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลุมดำได้มากนัก แต่ในอนาคต เมื่อวิทยาการก้าวหน้ามากกว่านี้เราอาจจะทำการศึกษาธรรมชาติของหลุมดำได้มากกว่านี้ เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำได้ แต่ถ้าเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบหลุมดำได้ เราก็จะเสมือนว่าได้เห็นหลุมดำแล้ว

ท่านผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมโลกต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ และทำไมดวงจันทร์ต้องโคจรรอบโลก คำตอบก็คือว่าจริงๆแล้ว ในการโคจรของระบบใดๆจะโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวล และจุดศูนย์กลางมวลของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ ดังนั้นเราจึงเห็นดาวเคราะห์ต่างๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ (มวลของระบบสุริยะ ประมาณ 99.9 % เป็นมวลของดวงอาทิตย์) และการที่อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียสในอะตอมทุกชนิดก็เหตุผลเดียวกันนี้ (มวลของอะตอม ประมาณ 99.99 % เป็นมวลของนิวเคลียส) ในทำนองเดียวกันนักดาราศาสตร์ก็เชื่อว่าหลุมดำเป็นจุดศูนย์กลางของกาแลกซี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น